โรคกระดูกพรุน อันตรายแค่ไหน ป้องกันได้อย่างไร?

A person holding their knee with an inset image of an X-ray highlighting bone degeneration, representing osteoporosis and its impact.

              โรคกระดูกพรุนภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามโรคกระดูกพรุนคือโรคที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้กระดูกเปราะบางไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเท่าตอนวัยรุ่น ซึ่งหลักๆของโรคกระดูกพรุนนั้นอาจเกิดมาจากพันธุกรรมและการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เร็วขึ้นโดยปกติจะพบว่าโรคกระดูกพรุนมักเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และสามารถพบอาการการเกิดโรคกระดูกพรุนในเพศชายได้เพียง  20 เปอร์เซ็นต์ และโรคกระดูกพรุนนั้นส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการในช่วงวัยกลางคนไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ  แต่ก็สามารถพบคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนได้ในวัยหนุ่มสาวเป็นบางรายเช่นกัน

              ปัจจุบันโรคกระดูกพรุนถือเป็นปัญหาใหญ่ของคนในสังคม โดยเฉพาะสังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะโรคกระดูกพรุนเพราะไม่พบว่าตัวเองมีอาการใดๆมาก่อนหน้านี้ จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้มแล้วมีอาการ “กระดูกหัก” ถึงจะทราบได้แน่ชัดว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน” ดังนั้น ทางเรา Tel2Tell TV shopping จึงอยากแนะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน พร้อมวิธีการป้องกันโรคกระดูกพรุนมาฝากกันค่ะ

สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน

              กระดูกประกอบด้วยเซลล์สร้างกระดูก(Osteoblast) ทำหน้าที่สร้างกระดูกขึ้นมาใหม่จากแคลเซียมและโปรตีนตามกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอและภายในกระดูกยังมีเซลล์สลายกระดูก(Osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูกเก่า ซึ่งหากเซลล์กระดูกทั้งสองชนิดนี้ทำงานผิดปกติ เกิดการทำงานของเซลล์กระดูกที่ไม่สมดุลกันจะทำให้มีการสลายกระดูกของเซลล์มากกว่าการสร้างกระดูกของเซลล์และการที่เซลล์กระดูกสองชนิดนี้ทำงานผิดปกติอาจเกิดจากปริมาณแคลเซียมในร่างกายไม่เพียงพอต่อกระบวนการสร้างกระดูก

อาการของคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน

              โรคกระดูกพรุนมีอาการที่ค่อนข้างชัดเจน เช่น หากพบว่าส่วนสูงเริ่มลดลง มีอาการหลังค่อมและรู้สึกปวดที่กระดูกมากผิดปกติ หรือมีอาการปวดกระดูกที่กระดูกหลังขา  และหากเวลาเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น เดินชน หรือ หกล้ม แล้วกระดูกหักได้ง่ายๆ หากมีอาการเหล่านี้ในเบื้องต้นให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคกระดูกพรุน และควรรีบพบแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

โรคกระดูกพรุนอันตรายแค่ไหน

              โรคกระดูกพรุนจะทำให้มวลกระดูกและความแข็งแรงของกระดูกลดลง โดยปกติจะไม่แสดงอาการในช่วงแรก แต่เนื่องจากมวลกระดูกที่ลดลง จึงส่งผลให้กระดูกแตกหักง่ายมากกว่าปกติ และทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายตามมาหลังจากเกิดอาการกระดูกหัก โดยภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่จะตามมาเมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน ได้แก่
– โรคอัมพฤกษ์ – อัมพาต
– หลังโก่ง หลังค่อม
– ติดเชื้อในกระแสเลือด
– ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
– เคลื่อนไหวได้ช้าลง
– อาจมีแผลกดทับร่วมด้วย

คกระดูกพรุนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. โรคกระดูกพรุนแบบปฐมภูม

              เกิดกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงในร่างกายลดลง พบได้หลังหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 15-20 ปี และยังเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ50ปีขึ้นไปเมื่อร่างกายเสื่อมสภาพลงการทำงานของฮอร์โมนและเซลล์ต่างๆในร่างกายก็จะมีประสิทธิภาพลดลงเช่นกัน

2. โรคกระดูกพรุนแบบทุติยภูมิ

              เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย เช่นคนที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวานโรครูมาตอยด์โรคไตวายเรื้อรังหรือกลุ่มคนที่รับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานานหรือเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงที่อาทำให้ร่างกายเสียสมดุล

โรคกระดูกพรุนสามารถรักษาให้หายขาดได้มั้ย?

              โรคกระดูกพรุนสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการรักษาที่ได้รับซึ่งการรักษาโรคกระดูกพรุนนั้นจะประกอบไปด้วยการรักษาด้วยยามีทั้งการรับประทานยาและการฉีดยาโดยแบ่งยาเป็น2กลุ่มใหญ่ๆคือยากลุ่มยับยั้งการสลายกระดูกและยากลุ่มกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ และการรักษาแบบ อายุรกรรม กับการรักษาแบบ ออร์โธปีดิก ในบางกรณีที่รุนแรงมาก อาจต้องใช้การผ่าตัดหรือการรักษาเสริมด้วยอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับกรณีที่ศักยภาพของการฟื้นฟูร่างกายของบางคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนนั้นมีไม่มากพอ

วิธีการป้องกันการเป็นโรคกระดูกพรุน

              คุณสามารถลดความเสี่ยงการเป็นโรคกระดูกพรุนได้โดยการดูแลสุขภาพและบำรุงกระดูกด้วยสารสกัด วิตามิน อาหารเสริม หรือวิธีการต่างๆ เช่น
– รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง
– หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
– หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนและเครื่องดื่มที่มีค่าความเป็นกรดสูง
– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
– ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
– ระมัดระวังการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
– เมื่อมีอาการเจ็บปวด หรือมีความรู้สึกว่าร่างกายเกิดความผิดปกติไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไร ควรรีบพบแพทย์เพื่อทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
– รับประทานสารอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลา นม ผักผลไม้ เป็นต้น

              จะเห็นได้ว่าโรคกระดูกพรุนเป็นโรคร้ายที่แสนอันตรายอีกทั้งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่ออายุมากขึ้นดังนั้นทางเรา Tel2TellTVshopping จึงอยากแนะนำตัวช่วยสำคัญที่จะเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อีกระดับหนึ่ง โดยตัวช่วยนั้นก็คือ Activis Black Sesame Oil

Promotional image for ACTIVIS Black Sesame Oil Plus, featuring three boxes and an offer for a free box, highlighted with savings on the regular price.

              Activis Black Sesame Oil เป็นสารสกัดจากงาดำที่นำเข้าจากประเทศเยอรมัน โดยมีสารเซซามินมากกว่างาดำปกติทั่วไปในประเทศไทยถึง 1.5-2 เท่า เป็นอาหารบำรุงกระดูกที่ปลอดภัย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารต่างๆได้ดี มีทั้งแร่ธาตุ แคลเซียม วิตามินE และสารให้คุณค่าทางอาหารมากกว่า 48 ชนิด สามารถบำรุงและให้สารอาหารดีๆแก่ร่างกายและช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกหนึ่งระดับ

              ก็จบกันไปแล้วสำหรับอีกหนึ่งบทความในวันนี้ หวังว่าทุกท่านจะได้สาระดีๆเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนไม่มากก็น้อย และหากสนใจสินค้า ACTIVISACTIVIS Activis Black Sesame Oil
หรือสินค้าอื่นๆ สามารถเข้ามาพูดคุยสอบถามได้ที่
LINE : https://lin.ee/rwm4xJa  number : 02-113-1234
website : https://www.tel2tellcallcenter.com/

Shopping Cart